วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เฟินชายผ้าสีดา มนตร์เสน่ห์ไม้คาคบ

เฟินชายผ้าสีดา เป็นชื่อเรียกเฟินสกุล Platycerivm ในPolypodiaceae ชื่อสากลของเฟินชนิดนี้ คือ Staghorn fern
ลักษณะเด่นคือ มีใบห้อยย้อยลงดูราวกับชายผ้านุ่งหรือผ้าสไบของสตรีพื้นที่การกระจายพันธุ์ส่วนมากอยู่ในเขตร้อนชื้น แต่อยู่ในพื้นที่สูงเหนือระดับทะเลแตกต่างกัน จึงส่งผลในเรื่องอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม บางชนิดต้องการอากาศเย็นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงได้งดงาน
โดยลักษณะทางพฤกศาสตร์แร้วเฟินชายผ้าสีดาเป็นเฟินอิงอาศัย มักเกาะอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่แต่บางชนิดก็อาจพบได้ในพื้นที่แห้งแล้ง  ในอดีตเฟินชายผ้าสีดที่นักเล่นเฟินรู้จักกันส่วนมากเป็นชนิดแท้ของไทยที่เก็บมาจากป่า บางพื้นที่ทางภาคใต้ดูเหมือนเฟินสนุกนี้จะมีสถานะเป็นวัชพืชเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม เฟินชายผ้าสีดำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเมืองไทยและประเทศแถบ เอเชีย เช่น  มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น แม้แต่เจ้าของเว็บไซต์เฟินค่ายใหญ่ๆของไทยต่างก็มุ่งผลิตและเพราะพันธุ์เฟินชายผ้าสีดากันอย่างจริงจัง ซึ่งช่วยให้วงการเฟินบ้านเราคึกคักขึ้นมาก เฟินชายผ้าสีดาทุกชนิดเป็นเฟินเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือตามหนักผาหินที่มีความชุ่มชื้นในบรรยากาศสูงต้องการแสงแดดปานกลางถึงมากและอากาศถ่ายเทสะดวกหรืออาจกล่าวว่าเฟินชายผ้าสีดาชื่นชอบสายลม แสงแดดและไอน้ำในอากาศหลักการปลูกที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเพียงหลักการทั่วไปแต่สำหรับเฟินชายผ้าสีดา แต่ละชนิดแล้ว มีข้อแตกต่างปลีกย่อยบ้างซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจเรื่องธรรมชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย ลักษณะโครงสร้างของต้นประกอบด้วย
เครื่องปลูก  เราจะใช้เครื่องปลูกเพื่อให้ระบบเจริญยึดเกาะและเพื่อเก็บความขึ้นและสะสมอาหารไว้ใช้ ซึ่งสามารถเลือกเครื่องปลูกได้หลายชนิด โดยคำนึงสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่และความสะดวกในการจัดหามาใช้วัสดุปลูกที่สามารถนำมาใช้ได้ ตัวอย่างเช่น สแฟกนัมมอสส์ซากเฟินชายผ้าสีดา รากต้นทรีเฟิน มหาสดำหรือกูดต้น กาบมะพร้าว พีตมอสส์ เปลือกไม้หนา เป็นต้น  ทั้งนี้การเลือกชนิดของวัสดุปลูก ควรคำนึงถึงอายุการใช้งานและความคงทนต่อการย่อยสลายด้วย

การให้น้ำ  หลักสำคัญที่สุดเลย  คือ  เฟินชายผ้าสีดาทุกชนิดไม่ชอบให้น้ำเปียกชุ่มแฉะที่ระบบรากอยู่ตลอดเวลาติดต่อกันเกิน 5-7 วันจำเป็นต้องมีช่วงที่ระบบรากแห้งสนิทบ้าง มิฉะนั้นแล้วจะทำให้มีโอกาสเน่าและตายได้ ดังนั้นหลังจากให้น้ำจนชุ่มแล้วควรรอให้ระบบรากแห้งก่อนจึงจะให้น้ำอีกครั้ง สำหรับระยะห่างของการให้น้ำแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับการจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่ปลูกเลี้ยงแต่ละแห่งแต่ละฤดูกาล โดยหมั่นสังเกตว่า การให้น้ำชุ่มแต่ละครั้งกว่าระบบรากจะแห้งใช้เวลานานเพียงใด บางแห่งให้น้ำตอนเช้าบ่ายๆก็แห้งสนิทแล้ว แต่บางแห่งอาจใช้เวลา 1-2  วันกว่าจะแห้ง





ชุดครัวปูนสำเร็จรูป ไอยรา 


www.ayara1656.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น