แบ่งพื้นที่หลังบ้าน
ได้ทั้งครัวและสวน
สำหรับคนที่อยากต่อเติมครัวและอยากมีสวนไว้สำหรับนั่งพักผ่อนด้วยนั้น
เรามีตัวอย่างการจัดสรรพื้นที่มีอย่างจำกัดนี้มาให้ดูกันครับ
โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการต่อเติมคือ เรื่องของของการวางตำแหน่งครัวม่ให้ขวางทางระบายน้ำในส่วนของพื้นที่สวนก็เช่นกัน
ควรทำรางระบายน้ำไม่ให้ท่วมขัง
ต่อเติมครัว
แบบไม่ให้มีกลิ่นเข้าบ้าน
การแยกครัวไทยออกมาจากตัวบ้านถือเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดหรับบ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก
เนื่องจากกลิ่นฉุนของอาหารจะได้ไม่รบกวนคนในบ้านให้รำคาญใจทั้งนี้เราสามารถทำได้โดยสร้างอาคารขนาดเล็กขึ้นมาใหม่โดยแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านเดิม
ติดตั้งประตูบานเพี้ยมกรุกระจกใสที่เปิดโล่งเพื่อระบายอากาศ
หรือพับเก็บได้หากต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บริเวณพื้นใช้พื้นอีพ็อกซี่ที่เช็ดทำความสะอาดง่ายและมีสีขาวสะอาดตา
ติดตั้งเตาแก็สแบบเคลื่อนย้ายได้เลือกตู้เตี้ยลอยตัวแทนตู้แบบบิลท์อินเพื่อรองรับการขยับขยายซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต
การจัดวางโต๊ะขนาดใหญ่เพื่อที่ตระเตรียมอาหารและยังสามารถเป็นที่พบปะพูดคุยกันสำหรับทุกคนในครอบครัวได้อีกด้วย
ต่อเติมครัวริมรั้วหลังบ้านสำหรับทาวน์เฮ้าส์
การต่อเติมครัวหลังบ้านหรือบริเวณริมรั้วซึ่งทีพื้นที่ติดกับบ้านหลังอื่น
ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นการต่อเติมครัวแบบเต็มพื้นที่ กล่าวคือ ถ้าบ้านมีหน้ากว้าง 6
เมตร ก็ต่อเติมครัวยาวเท่ากับ 6 เมตร โดยมีด้านกว้างของครัวยาวติดกับรั้วของเพื่อนบ้านนั่นเองหากไม่สามารถทำช่องเปิดได้
จะทำให้เกิดปัญหาครัวที่ดูมืดและทึบตันซึ่งครัวในภาพนั้เป็นออกเป็น 2 ส่วน
คือส่วนครัวและซักล้าง ซึ่งมีข้อดีตรงที่สามารรถทำบานหน้าต่างเปิดรับแสงให้เข้าถึงครัว
จึงช่วยลดกลิ่นอับและระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
ครัวมุมรั้วหลังบ้าน
บ้านเดี่ยวภายในหมู่บ้านจัดสรรซึ่งต่อเติมพื้นที่หลังบ้านออกมาเป็นครัวไทยแบบเรียบว่ายได้ประโยชน์ใช้สอยครบถ้วน
พื้นที่ส่วนต่อเติมตั้งอยู่บริเวณหัวมุมหลังบ้าน เป็นพื้นที่เปิดโล่งสามารถเดินทะลได้
โดยมีโครงสร้างง่ายๆ เริ่มจากต่อเติมหลังคาระแนงไม้กรุพอลิคาร์บอเนตป้องกันฝนยื่นจากตัวบ้าน
ก่อเคาน์เตอร์ ปูนเปลือยง่ายและเจาะช่องเป็นแนวยาวช่วยระบายอากาศ
ใต้เคาน์เตอร์ปล่อยโล่งเพื่อรองรับการติดตั้งชั้นวางของหรือหน้าบานตู้ได้มนอนาคตหากมีข้าวของเพิ่มขึ้นใกล้กับมุมครัว
เจ้าของบ้านยังปลูกผักสวนครัวบางชนิดให้หยิบฉวยมาใช้ง่าย เช่น ตะไคร้ กะเพรา
ป็นต้น
เสริมครัวไทย
ไว้ใต้ถุน
ไอเดียการผสมผสานวัสดุและของตกแต่ง
วัสวุและของตกแต่งเป็นเป็นอีกตตัวช่วยให้ครัวธรรมดาพิเศษชึ้นมา สำหรับครัว
ใต้ถุนบ้านมุมนี้มีการเลือกใช้วัสดุในโทนสีสีและรูปแบบใกล้เคียงกันมาตกแต่งเพื่อสร้างกลิ่นอายแบบพื้นถิ่น
เช่น กระเบื้องดินเผาลายดอกไม้ตกแต่งเคาน์เตอร์และผนังทั้งสามด้าน
ส่วนบริเวณเคาน์เตอร์ขุดหลุมลงไปประมาณ 30 เซนติเมตร ทำฐานรากพื้นตามขนาดของ เคาน์เตอร์แล้วก่อิฐขึ้นมาตามลำดับปรับพื้นดินโดยรอบให้เท่ากัน
เท่านั้ก็ได้ครัวใต้ถุนบรรยากาศไทยๆ แล้วครับ
ชุดครัวปูนสำเร็จรูป ไอยรา
12
แบบ ต่อ
เติมครัวหลังบ้าน
http://www.ayarafurniture.com/