สวัสดีครับ วันนี้ผมจะนำ ความรู้ดีๆ จากหนังสือนิตยสาร รูม มาให้ได้อ่านเพื่อเป็นแนวทางการตกแต่งต่อเติม หรือจะทำบิวอิน ห้องครัว นะครับ
1. แปลนส่วนต่อเติม
บ้านส่วนใหญ่มักทำการต่อเติมครัวออกไปบริเวณหลังบ้าน
เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านนอกจะทำครัวแล้วยังสามารถใช้เป็นที่ที่สมาชิกในครอบครัวมาทำกิจกรรมร่วมกัน
เพราะฉะนั้นครัวควรมีบรรยากาศที่ดี ไม่อับทึบ
ซึ่งบ้านหลังนี้มีครัวที่บรรยากาศอบอุ่น เหมาะสำหรับเป็นครัวตัวอย่างที่น่านำไปปรับใช้ในการต่อเติมครัวครับ
เริ่มจากทำผนังก่ออิฐโชว์แนวโดยใช้เทคนิคฉาบปูนแล้วใช้เกรียงขูดปูนที่ยังไม่แห้งออกทำให้ผนังเรียบเสมอกันแต่เห็นเป็นลายอิฐ
กลายเป็นพื้นผิวที่สวยงามในตัว เคาน์เตอร์ก่อด้วยอิฐเช่นกัน บริเวณท็อปเป็นไม้สักทำสีธรรมชาติ
ดูเข้ากันแบบลงตัวทีเดียว
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของครัวคือการทำช่องเปิดที่ให้อากาศถ่ายเททำให้ระบายอากาศได้ดี
โดยมีด้านหนึ่งเป็นประตูบานเฟี้ยมกรุกระจกสำหรับชมวิวด้านนอก กลางห้องมีโต๊ะ
อเนกประสงค์ที่ใช้เป็นที่เตรียมอาหารหรือรับประทานอาหารในครัวได้อีกด้วย
ปัจจัยอีกอย่างที่ทำให้ครัวดูสวยงามคือองค์ประกอบในการใช้วัสดุ เช่น ไม้ ปูนเลื่อย
อิฐ และอุปกรณ์ในครัวที่เป็นสเตนเลส
ทำให้ครัวนี้ดูลงตัวและมีบรรยากาศที่อบอุ่นได้ครับ
TIP
·
การก่ออิฐโชว์แนวเหมาะกับห้องที่อากาศถ่ายเท
แสงส่องถึง จึงไม่สกปรกและเป็นที่สะสมของเชื้อโรค
·
พ่นน้ำยาเคลือบซีเมนต์ก็สามารถช่วยป้องกันคราบสกปรกหรือคราบไขมันฝังเข้าไปในเนื้อปูนได้อีกทางหนึ่ง
2.เสริมครัวบ้านตึกแถวบนชั้นสอง
อีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีบ้านตึกแถวซึ่งมีพื้นที่สำหรับบ้านชั้นล่างสุด
เป็นส่วนค้าขายที่ต้องใช้งานเต็มพื้นที่ ครัวนี้เลยยกมาตั้งอยู่บริเวณชั้น
2ของอาคารแล้วใช้บานเฟี้ยมเป็นตัวช่วยแบ่งพื้นที่ซึ่งสะดวกแก่การใช้งานและป้องกันปัญหาเรื่องกลิ่นเวลาทำอาหาร
ส่วนการตกแต่งนั้นเป็นสไตส์ลอฟต์ เน้นโชว์ผิววัสดุแบบดิบๆอย่างปูนเปลือยขัดมัน
ตะแกรงเหล็กฉีก และกรอบเหล็กแบบไม่ทำสี คุมโทนสีเป็นสีขาว เทา ดำ
ภาพรวมของครัวจึงออกมาดูเท่และหนักแน่นแบบลอฟต์ การทำครัวที่ชั้นสองนั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการวางงานระบบท่อให้ถูกต้อง และดูสวยงาม
โดยอาจใช้ท่อระบายน้ำเดิมบริเวณระเบียงดาดฟ้าเป็นท่อน้ำทิ้ง แล้วต่อท่อน้ำดีจากห้องน้ำที่ชั้นสอง
TIP
·
การวางตะแกรงสำหรับคว่ำจานไว้เหนือเคาน์เตอร์
นอกจากจะสะดวกเวลาน้ำหยดลงในอ่างโดนตรง
ซึ่งทำให้เคาน์เตอร์ครัวไม่เปียกเลาะเทอะด้วย
·
ควรยกพื้นใต้เคาน์เตอร์ครัวให้เสมอขอบล่างของบานเปิด
เพื่อง่ายต่อการเช็คทำความสะอาดในภายหลัง
3.ทำช่องแสงสำหรับครัวอับทึบ
ในการต่อเติมบางกรณีจำเป็นต้องก่อผนังทึบสามด้านด้วยเหตุหลายๆอย่าง
เช่น ความปลอดภัย หรือเป็นมุมอับ ไม่มีอากาศถ่ายเท
เนื่องจากหลังบ้านมีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางไว้
สามารถแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งพัดลมดูดอากาศโดยมีหลักการติดตั้งง่ายๆ คือให้อยู่ตรงกับตำแหน่งตามแนวเคาน์เตอร์ที่ใช้ประกอบอาหาร
หรืการทำช่องแสงที่เพดานก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง
ครัวในลักษณะนี้มักจะมีกลิ่นอับชื้นเกิดได้ง่าย ชั้นวางของจึงควรออกแบบให้โปร่ง
เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค ซึ่งครัวเป็นที่ที่ข้าวของเครื่องใช้จำนวนมาก
การจัดวางข้าวของทั้งหลายให้ดูดีทำได้ง่ายๆ
โดยเลือกอุปกรณ์ภายในครัวให้มีสีสันเข้ากันกับผาผนัง
และใช้การแบ่งพื้นที่วางของเป็นหมวดหมู่ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ครัวของคุณดูดีได้ครับ
TIP
·
สำหรับบ้านที่จำเป็นต้องเทพื้นทับกับฝาบ่อเกรอะ
ควรเว้นพื้นบริเวณนั้นให้เป็นช่องเปิด-ปิดกรณีที่ต้องการสูบสิ่งปฎิกูลออกจากบ่อเกรอะเมื่อบ่อเกรอะเต็ม
4.ต่อเติมครัว...ด้านข้าง
การต่อเติมครัวส่วนใหญ่จะขยายออกด้านหลังบ้าน
คราวนี้เราลองดูการขยายพื้นที่ต่อเติมออกทางด้านข้างกันบ้าง
อันดับแรกให้คำนึงเรื่องทิศทางแดด คือควรหลีกเลี่ยงการต่อเติมในรูปแบบนี้ทางด้านทิศทางแดด
คือควรหลีกเลี่ยงการต่อเติมในรูปแบบนี้ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก
การก่อสร้างทำได้ไม่ยุ่งยากนักโดยการทุบผนังเดิมออกและใช้โครงสร้างเบาในการสร้าง
เช่น เหล็กและยูพีวีซี จะช่วยลดเรื่องการทรุดตัวของส่วนต่อเติมได้
ทำผนังทึบด้านที่จะทำเคาน์เตอร์ครัวและกรุด้วยกระเบื้องโมเสกเรซินด้านข้าง
และด้านบงนกรุกระจกเทมเปอร์ชนิดใส
ส่วนตัวเคาน์เตอร์และตู้บนทำเป็นบิลท์อินหรือซื้อครัวสำเร็จรูปมาติดตั้งได้แล้วแต่ความสะดวก
ซึ่งช่วยทำให้พื้นที่บริเวณนี้ดูโปร่ง มองเห็นต้นไม้สีเขียว ที่ปลูกอยู่นอกบ้าน
สร้างบรรยากาศมุมครัวให้ดูสดชื่น ดูแล้วสบายตา
เหมาะกับการเป็นครัวเบาที่ใช้ประกอบอาหารง่ายๆ และเป็นครัวที่ไว้โชว์ความสวยงามได้อีกด้วย
TIP
·
กรอบกระจกยูพีวีซีมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงได้ดี
แข็งแรง ทนทาน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
5.ต่อเติมครัวหลังบ้านด้วยโครงสร้างเหล็ก
การต่อเติมครัวสำหรับบานที่โครงสร้างเหล็กและโครงปูนสามารถทำโครงสร้างต่อมาจากบริเวณชายคาหรือพื้นระเบียงชั้น
2 โดยวางโครงสร้างหลังคาของส่วนต่อเติมให้อยู่ต่ำกว่าชายคาของตัวบ้านเดิม
โดยไม่ต้องยึดโครงสร้างติดกันแล้วทำ Slope ของโครงสร้างหลังคาส่วนต่อเติมให้หันออกจากตัวบ้านเพื่อลดปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อของหลังคา
ซึ่งช่างที่ขาดความชำนาญมักเชื่อมไปชนกับผนังบ้าน
หากบ้านหลังใดที่ต่อเติมครัวในด้านที่ไม่มีแนวชายคา สามารถทำปีกนกยื่นออกมาจากผนังบ้านเดิมได้
TIP
·
ครัวที่ทำผนังก่ออิฐโชว์แนวจะมีรอยตอระหว่างอิฐ
อาจเป็นที่สะสมของเชื้อโรคผนังในลักษณะนี้จึงเหมาะกับครัวฝรั่งหรือครัวเบาที่ไม่ได้ทำอาหารบ่อยๆ
6.ครัวไทยแบบแนวๆ
นี่คือครัวไทยที่เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบการทำอาหารเป็นชีวิตจิตใจ
ด้วยการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานบ่อยครั้ง เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่ทนทานและสามารถเช็คทำความสะอาดง่ายอย่างปูนเปลือยขัดมัน
และกรุกระเบื้องเซรามิคทั่วทั้งผนัง รวมทั้งบริเวณหน้าบานตู้เลือกใช้ไม้จริงทั้งหมด
ส่วนเรื่องฟังก์ชั่นก็คำนึงถึงขั้นตอนการเตรียมอาหาร ด้วยการวางโต๊ะกลางขนาดพอเหมาะไว้กลางห้องเพื่อเป็นที่หั่นเตรียมอาหาร
การเว้นที่ว่างข้างอ่างล้างจานเพื่อวางภาชนะหรือเป็นที่พักอาหาร
ที่เพิ่งล้างเสร็จก่อนเตรียมปรุงอาหาร
ครัวเมื่อต่อเติมไปสักระยะหนึ่งท่อจะเริ่มมีปัญหารั่วซึมหรือแตกหักเนื่องจากการทรุดตัวเป็นโพรงดินใต้พื้นอาคารของส่วนที่ต่อเติม
แต่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยครับ
TIP
·
เพิ่มลูกเล่นสนุกๆด้วยการตกแต่งครัว
สไตส์เมดิเตอร์เรเนียน ด้วยไอเดียการก่อปล้องควันโค้งเว้าด้วยปูนซีเมนต์ขาว
ตอกหมุดเหล็กแบบดิบๆไว้ที่หน้าบานตู้หรือกรุไม้ยูคาลิปตัสบริเวณเพดานเป็นระแนงแนวยาวเพื่อเพิ่มกลิ่นอายแบบทะเลๆเท่านี้ครัวคุณก็เก๋ไม่เหมือนใครแล้ว
7.ครัวโชว์ก็ได้
ใช้ก็ดี
สำหรับบ้านที่เจ้าของบ้านไม่มีเวลาเข้าครัวเพราะอาจใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในที่ทำงานเรามีตัวอย่างการต่อเติมครัวซึ่งเหมาะในการทำเป็นครัวโชว์และใช้บ้างเมื่อมีโอกาส
โดยควรออกแบบให้ดูเรียบง่าย พื้นและผนังเป็นกระเบื้องเซรามิกสีขาว
เพิ่มลูกเล่นผนังโดยใช้กระเบื้องที่มีขนาดแตกต่างกัน เช่น
ขนาด 0.30x0.30 เมตร และ 0.10 x 0.30 เมตร
ใต้เคาน์เตอร์เปิดโล่งง่ายต่อการทำความสะอาด
โดยผนังด้านเคาน์เตอร์อาจสร้างชิดติดแนวเขตที่ดิน
ซึ่งการต่อเติมไปจนสุดแนวเขตที่ดินนั้น
ในทางกฎหมายได้กำหนดระยะถอยร่นตามกฎหมาย เพื่อใช้กับบ้านที่มีพื้นที่บ้านติดกัน
เช่น กำแพงที่มีช่องลม ช่องแสง ช่องหน้าต่าง สำหรับบ้านชั้นเดียว หรือ สองชั้น
(สูงไม่เกิน 9 เมตร)ถอยร่นอย่างน้อย 2 เมตร สามชั้น (สูงเกิน 9 เมตร)
ถอยร่นอย่างน้อย 3 เมตร หรือถ้าเป็นกำแพงทึบ ไม่มีช่องลม ควรมีระยะถอยร่น 50 ซม.
เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันคนทั่วไปนิยมสร้างส่วนต่อเติมชิดแนวเขตที่ดิน
ซึ่งในทางกฎหมายมีระยะเวลายกเว้น สามารถกระทำได้หากได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร
โดยการต่อเติมนั้นควรคำนึงถึงความปลอดภัย ความสวยงาม และถูกสุขลักษณะ
ไม่ขวางทางระบายน้ำ
TIP
·
การตกแต่งห้องครัวที่เป็นสีขาวเรียบๆ
สามารถเพิ่มลูกเล่นและรายละเอียดให้น่าสนใจ เช่น สีขาวเหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
สีขาวเหมือนกันแต่มีเท็กซ์เจอร์ต่างกัน เป็นต้น
08.แบ่งพื้นที่หลังบ้าน ได้ทั้งครัวและสวน
คนที่อยากต่อเติมครัวและอยากมรสวนไว้สำหรับนั่งพักผ่อนด้วยนั้น
เรามีตัวอย่างการจักสรรพื้นที่ที่มีอย่างจำกัดนี้มาให้ดูกันครับ
โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการต่อเติมคือ เรื่องของการวางตำแหน่งครัวไม่ให้ครัวให้ขวางทางระบายน้ำในส่วนของพื้นที่สวนก็เช่นกัน
ควรทำรางระบายน้ำไม่ให้ท่วมขัง
09.ต่อเติมครัวแบบไม่ให้มีกลิ่นเข้าบ้าน
การแยกครัวไทยออกมาจากตัวบ้านถือเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก
เนื่องจากกลิ่นฉุนของอาหารจะได้ไม่รบกวนคนในบ้านให้รำคาญใจทั้งนี้เราสามารถทำได้โดยสร้างอาคารขนาดเล็กขึ้นมาใหม่โดยแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านเดิม
ติดตั้งประตูบานเฟี้ยมกรุกระจกใสที่เปิดโล่งเพื่อระบายอากาศหรือพับเก็บได้หากต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บริเวณพื้นใช้พื้นอีพ็อกซ่ที่เช็คทำความสะอาดง่ายและมีสีขาวสะอาดตา
ติดตั้งเตาแก๊สแบบเคลื่อนย้ายได้ เลือกตู้เตี้ยลอยตัวแทนตู้แบบบิลท์อินเพื่อรองรับการขยับขยายซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต
การจัดวางโต๊ะขนาดใหญ่เพื่อเป็นพื้นที่ตระเตรียมอาหารและยังสามารถเป็นที่พบปะพูดคุยกันสำหรับทุกคนในครอบครัวได้อีกด้วย
TIP
·
เคาน์เตอร์ที่เป็นท้อปไม้
ควรระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างมาก
ไม่ควรวางภาชนะความร้อนสูงบนพื้นผิวที่เป็นไม้เพราจะเกิดเป็นรอยไหม้สีดำฉะนั้นครัวลักษณะนี้จึงเหมาะเป็นครัวเบาที่ใช้งานน้อยหรือนานๆใช้ที
เป็นครัวที่ใช้โชว์ความสวยงามเป็นหลัก
09.ต่อเติมครัวแบบไม่ให้มีกลิ่นเข้าบ้าน
การแยกครัวไทยออกมาจากตัวบ้านถือเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก
เนื่องจากกลิ่นฉุนของอาหารจะได้ไม่รบกวนคนในบ้านให้รำคาญใจทั้งนี้เราสามารถทำได้โดยสร้างอาคารขนาดเล็กขึ้นมาใหม่โดยแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านเดิม
ติดตั้งประตูบานเฟี้ยมกรุกระจกใสที่เปิดโล่งเพื่อระบายอากาศหรือพับเก็บได้หากต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บริเวณพื้นใช้พื้นอีพ็อกซ่ที่เช็คทำความสะอาดง่ายและมีสีขาวสะอาดตา
ติดตั้งเตาแก๊สแบบเคลื่อนย้ายได้ เลือกตู้เตี้ยลอยตัวแทนตู้แบบบิลท์อินเพื่อรองรับการขยับขยายซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต
การจัดวางโต๊ะขนาดใหญ่เพื่อเป็นพื้นที่ตระเตรียมอาหารและยังสามารถเป็นที่พบปะพูดคุยกันสำหรับทุกคนในครอบครัวได้อีกด้วย
TIP
·
เคาน์เตอร์ที่เป็นท้อปไม้
ควรระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างมาก
ไม่ควรวางภาชนะความร้อนสูงบนพื้นผิวที่เป็นไม้เพราจะเกิดเป็นรอยไหม้สีดำฉะนั้นครัวลักษณะนี้จึงเหมาะเป็นครัวเบาที่ใช้งานน้อยหรือนานๆใช้ที
เป็นครัวที่ใช้โชว์ความสวยงามเป็นหลัก
10.ต่อเติมครัวริมรั้วหลังบ้าน สำหรับทาวน์เฮ้าส์
การต่อเติมครัวหลังบ้านหรือบริเวณริมรั้วซึ่งมีพื้นที่ติดกับบ้านหลังอื่น
ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นการต่อเติมครัวแบบเต็มพื้นที่ กล่าวคือ ถ้าบ้านมีหน้ากว้าง 6
เมตร ก็ต่อเติมครัวยาวเท่ากับ 6 เมตร โดยทีด้านกว้างของครัวยาวติดกับรั้วของเพื่อนบ้านนั่นเอง
หากไม่สามารถทำช่องเปิดได้ จะทำให้เกิดปัญหาครัวที่ดูมืดและทึบตัน
ซึ่งครัวในภาพนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเจ้าของบ้านใช้วิธีแบ่งพื้นที่ด้านหลังบ้านออกเป็น
2 ส่วน คือ ส่วนครัวและส่วนซักล้าง ซึ่งมีข้อดีตรงที่สามารถทำบานหน้าต่างเปิดรับแสงให้เข้าถึงครัว
จึงช่วยลดกลิ่นอับ และระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
TIP
·
คุณสมบัติไร้รอยต่อของท็อปปูนเปลือยขัดมันทำให้ง่ายต่อการเช็คทำความสะอาด
จึงช่วยลดการสะสมของเศษอาหารและคราบเลอะเทอะด้วย ทั้งนี้ต้องเคลือบน้ำยาเคลอบปูนซีเมนต์ให้เรียบร้อย
(ปีละ 1 ครั้ง)
11.บ้านเดี่ยวภายในหมู่บ้านจัดสรรซึ่งต่อเติมพื้นที่หลังบ้านออกมาเป็นครัวไทย
แบบเรียบง่ายแต่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างครบถ้วน
พื้นที่ส่วนต่อเติมตั้งอยู่บริเวณหัวมุมหลังบ้าน
เป็นพื้นที่เปิดโล่งสามารถเดินทะลุได้ โดยมีโครงสร้างง่ายๆเริ่มจากต่อเติมหลังคาระแนงไม้กรุพอลิคาร์บาร์เนตป้องกันฝนยื่นจากตัวบ้าน
ก่อเคาน์เตอร์ปูนเปลือยขัดมันชิดแนวรั้ว
บนผนังเลือกใช้สีเทาสร้างบรรยากาศแบบโมเดิร์น
ที่ดูเรียบง่ายและเจาะช่องเป็นแนวยาวช่วยระบายอากาศ
ใต้เคาน์เตอร์ปล่อยโล่งเพื่อรองรับการติดตั้ง
ชั้นวางของหรือหน้าบานตู้ได้ในอนาคตหากมีข้าวของเพิ่มขึ้นใกล้กับมุมครัว
เจ้าของบ้านยังปลูกผักสวนครัวบางชนิดให้หยิบฉวยมาใช้ง่าย เช่น ตะไคร้ กะเพรา
เป็นต้น
TIP
ข้อดีของการต่อเติมครัวนอกบ้านซึ่งมีพื้นที่เปิดโล่ง
คือมีการไหลเวียนและระบายอากาศได้ดี จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหารที่ค่อนข้างหนัก
เช่น อาหารไทยกลิ่นแรง หรืออาหารปิ้งย่างที่มีควันมาก มีข้อควรคำนึงง่ายๆ
เป็นหลักในการต่อเติมลักษณะนี้ได้แก่
·
ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งครัวทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวบ้านเนื่องจากอยู่ต้นลม
จะทำให้กลิ่นและควันเข้ามาในตัวบ้าน
·
ตำแหน่งครัวนอกบ้านควรอยู่ในจุดที่เดินเชื่อมต่อถึงกันกับส่วนรับประทานอาหารเพื่อให้สะดวกในการขนย้ายอาหารไปยังมุมนั้นๆ
·
เคาน์เตอร์ครัวควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตรียมอาหารและเก็บล้าง
เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินเข้าออกภายในบ่อยครั้ง
12. เสริมครัวไทย ไว้ใต้ถุน
ไอเดียการผสมผสานวัสดุและของตกแต่ง
วัสดุและของตกแต่งเป็นอีกตัวช่วยให้ครัวธรรมดาดูพิเศษขึ้นมา
สำหรับครัวใต้ถุนบ้านมุมนี้มีการเลือกใช้วัสดุในโทนสีและรูปแบบใกล้เคียงกันมาตกแต่ง
เพื่อสร้างกลิ่นอายแบบพื้นถิ่น เช่น กระเบื้องดินเผาลายดอกไม้ตกแต่งเคาน์เตอร์ด้านหน้า ด้านในกรุกระเบื้องดินเผาสีเอิร์ธโทนอ่อนแก่ดูธรรมชาติสร้างบรรยากาศให้อบอุ่น
มากขึ้นด้วยโคมไฟสุ่มดักปลากรุกระดาษสา ส่วนเคาร์เตอร์และผนังก่อปูนขึ้นมา
และฉาบผิวหน้าแบบไม่เรียบจับมุมโค้งมนจึงดูไม่เป็นทางการมากนัก
การต่อเติมทำได้ง่ายโดยการทำเสาเอ็นยึดกับเสาเดิมของตัวบ้านเพื่อก่อผนังทั้งสามด้าน
ส่วนบริเวณเคาน์เตอร์ขุดหลุมลงไปประมาณ 30
ซม.ทำรากฐานตามขนาดของเคาน์เตอร์แล้วก่ออิฐขึ้นมาตามลำดับปรับพื้นดินโดยรอบให้เท่านั้น
เท่านี้ก็ได้ครัวใต้ถุนบรรยากาศไทยๆแล้วครับ
ข้อควรรู้ ก่อนการต่อเติมครัว
ต่อเติมครัวทั้งทีควรเริ่มจากอะไรก่อน
การกำหนดความต้องการให้แน่ชัดจะทำให้การต่อเติมครัวเกิดปัญหาน้อยที่สุดและได้ครัวสวยตามความต้องการ
โดยคำถามเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆที่จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจต่อเติมครัวของคุณครับ
1.จำนวนสมาชิกในครอบครัว
2.ใช้ครัวบ่อยแค่ไหนในแต่ล่ะวัน
3.การใช้งานมีพื้นที่ต่อเนื่องกับส่วนใดบ้าง
เพื่อกำหนดช่องเปิดที่เป็นประตู หน้าต่าง และกำหนดเส้นทางเข้าออก
4.กำหนดพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ในครัวมีอะไรบ้าง
5.ชอบการตกแต่งในรูแบบใด
ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบและวัสดุของครัว
การวางตำแหน่งในการต่อเติมห้องครัวควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
1.ตั้งอยู่ในทิศที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับทึบ
สามารถระบายความร้อนและกลิ่นต่างๆในขณะประกอบอาหาร
มีแสงส่องถึงเพื่อไล่ความชื้นและฆ่าเชื้อโรค
2.อยู่ในตำแหน่งที่สะดวกในการเข้าถึง
โดยมี 2 ลักษณะ ดังนี้
* ครัวภายในตัวบ้าน มักอยู่บริเวณชั้นล่าง
ใกล้ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น
และมีประตูเชื่อมกับพื้นที่จอดรถเพื่อความสะดวกในการขนของ
* ครัวภายนอก เป็นเรื่อยเดียวแยกออกจากตัวบ้าน มักสร้างติดกับห้องคนใช้เพื่อความสะดวกในการประกอบกิจกรรม
3. ตำแหน่งของห้องครัวไม่ควรตรงกับห้องนอนชั้นบน
เพราะกลิ่นจากอาหารจะลอยขึ้นไปรบกวน ควรทำปล่องบันไดได้โปร่ง มีการระบายอากาศได้ดี
เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดอับทำให้เกิดกลิ่นอบอวลอยู่ในบ้าน
4.ตำแหน่งท่อน้ำทิ้งไม่ควรอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำดี
เพราะน้ำเสียและเศษอาหารอาจไหลไปปนเปื้อนได้
5.การต่อเติมครัวใหม่นั้นควรเลือกให้อยู่ติดกับส่วนรับประทานอาหาร
ระเบียง หรือลานบ้าน เพิ่อสะดวกในการลำเลียงอาหารเวลามีงานเลี้ยง
เครดิต:::หนังสือรูม